จ.ศรีสะเกษ...!!@ มูลนิธิหลวงปู่สรวงร่วมกับ อบต.ไพรพัฒนาวอนของบขุดลอก...!! เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หาดสำราญ ต.ไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ในเขตอ่างเก็บน้ำห้วยสำราญ พระครูโกศลสิกขกิจ ประธานมูลนิธิหลวงปู่สรวงวัดไพรพัฒนา เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ อาตมาภาพพร้อมด้วย ส.อ.ธีรยุทธ มณีโชติ ปลัด อบต.ไพรพัฒนา ได้เข้าพบกับ นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา และคณะ ซึ่งมาตรวจติดตามการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ และตรวจสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ในเขตพื้นที่ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ โดย ส.อ.ธีรยุทธ มณีโชติ ปลัด อบต.ไพรพัฒนา ได้ยื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เพื่อขอความอนุเคราะห์ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ ต.ไพรพัฒนา โดยได้แนบสำเนาโครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยสำราญ หมู่ที่ ๔ บ้านแซรไปรใต้ และสำเนาโครงการผันน้ำจากเขื่อนห้วยสำราญ เพื่อการอุปโภค - บริโภคและการเกษตรภายในพื้นที่ ต.ไพรพัฒนาและพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งสำเนาโครงการพัฒนาบริเวณจุดชมวิวผาพญากูปรี ทั้งนี้เพื่อขอความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและพัฒนาบริเวณจุดชมวิวผาพญากูปรี ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อชายแดนไทย – กัมพูชาติใกล้กับจุดผ่านแดนถาวรไทย – กัมพูชาช่องสะงำ ส.อ.ธีรยุทธ มณีโชติ ปลัด อบต.ไพรพัฒนา กล่าวว่า พื้นที่ อบต.ไพรพัฒนามีพื้นที่รับผิดชอบ 10 หมู่บ้าน จำนวนประชากรทั้งหมด จำนวน 7,544 คน มีจำนวนครัวเรือน 6,434 ครัวเรือน ได้ประสบปัญหาภัยแล้งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปี แหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ มีสภาพตื้นเขินไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ประกอบกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่เป็นภูเขาและที่ราบสูง ทำให้ไม่สามารถดูดชับน้ำและกักเก็บไว้ได้ทัน อีกทั้งขาดแคลน แหล่งน้ำหรืออ่างเก็บน้ำที่ช่วยชะลอการไหลของน้ำ ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำซ้ำซากทุกปี ดังนั้น อบต.ไพรพัฒนา จึงขอความอนุเคราะห์และขอความเมตตาจากคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา พิจารณาให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในการอุปโภค - บริโภคและทำการเกษตรภายในพื้นที่ตำบลไพรพัฒนา ตลอดจนพิจารณโครงการพัฒนาบริเวณจุดชมวิวผาพญากูปรี ตำบลไพรพัฒนา เพื่อยกระดับแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีมาตรฐานทางการท่องเที่ยวและเป็นสถานที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว และยังเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นและที่สำคัญในการพัฒนาบริเวณจุดชมวิวผาพญากูปรี ต.ไพรพัฒนา ซึ่งจะทำให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้นครอบครัวมีความสุข ประกอบกับการนำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่ว่า "ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า"มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ต่อไป
พระครูโกศลสิกขกิจ ประธานมูลนิธิหลวงปู่สรวงวัดไพรพัฒนา กล่าวว่า มูลนิธิหลวงปู่สรวงวัดไพรพัฒนาจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของเด็ก น.ร.และส่งเสริมสนับสนุนชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยที่ผ่านมาได้จัดตั้งตลาดวัฒนธรรมอาเซียนบายตึ๊กเจีย ที่บ้านไพรพัฒนาเพื่อให้ประชาชนที่ผลิตสินค้าต่าง ๆ ขึ้นมาได้ให้มีตลาดในการค้าขายสินค้า และสนับสนุนในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ให้กับประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอทุกอำเภอตามแนวชายแดนไทย จ.ศรีสะเกษ ได้จัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีหลวงปู่สรวงวัดไพรพัฒนา เพื่อเป็นสถานที่ให้เด็ก น.ศ.ได้เรียนวิชาชีพโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อที่เด็กจะได้มีวิชาชีพติดตัวหาเลี้ยงตนเองพ่อแม่ เป็นพลเมืองดีของชาติสืบต่อไป อีกทั้งได้สนับสนุนในการจัดทำจุดชมวิวผาพญากูปรี ใกล้กับจุดผ่านแดนถาวรไทย – กัมพูชาช่องสะงำ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในชุมชน รองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทำให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน แต่ว่า การพัฒนาจุดชมวิวผาพญากูปรียังไม่เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อย ยังมีหลายส่วนที่จะต้องปรับปรุงเพื่อพัฒนาด้านการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ทาง อบต.ไพรพัฒนาจึงได้เสนอขอความอนุเคราะห์จากประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เพื่อขอให้พิจารณาช่วยเหลืองบประมาณในการพัฒนาขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยสำราญและพัฒนาจุดชมวิวผาพญากูปรีต่อไป ทางด้าน นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา กล่าวว่า จากการที่ตนและคณะได้มาตรวจติดตามดูสถานที่บริเวณนี้แล้ว ทั้งจุดชมวิวผาพญากูปรี และอ่างเก็บน้ำห้วยสำราญ ทำให้ตนได้รับทราบข้อมูลเรื่องนี้แล้ว ตนจะได้นำเรื่องนี้บรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วนในการประชุมคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เพื่อพิจารณาหาทางในการดูแลช่วยเหลืออย่างเต็มที่และจะแจ้งผลการพิจารณาให้ ปลัด อบต.ไพรพัฒนา ได้รับทราบต่อไป โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยสำราญ หมู่ที่ ๘
ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ชื่อโครงการ : โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยสำราญ หมู่ที่ ๘ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
๒. หลักการและเหตุผล
สถานการณ์การขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ตำบลไพรพัฒนา เริ่มตั้งแต่กลางเดือน
กุมกาพันธ์ ถึงต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปีสาเหตุเกิดจากปริมาณน้ำฝนมีน้อย แหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ มีสภาพตื้น
เซ็นไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ประกอบกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่เป็นภูเขาและที่ราบสูงประกอบกับการบุกรุก
ตัดไม้ทำลายป่า ทำให้สภาพป่าไม่สามารถดูดชับน้ำและกักเก็บไว้ได้ทัน อีกทั้งขาดแคลน แหล่งน้ำหรืออ่างเก็บน้ำ
ที่ช่วยซะลอการไหลของน้ำ ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรรวมถึงการขาดแคลนน้ำเพื่อการทำปศุสัตว์สร้างความเสียหายแก่เกษตรกรเป็นวงกว้าง เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาด้านการเกษตรตามแผน
ยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒0 ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙) ยุทธศาสตร์ที่๕ การวางระบบบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ
เรื่องการเพิ่มขีดความสามารถในการกักเก็บน้ำ การจัดให้มีแหล่ง กักเก็บน้ำต้นทุน และแหล่งชะลอน้ำที่เพียงพอ และ
ยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ ที่ ๑๒ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร
จัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อให้เกิดความสมดุล มั่นคง และ
ยั่งยืน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรน้ำ ทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน
ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ในช่วงฤดูแล้ง รวมทั้ง,สร้างโอกาสให้ชุมชนเกษตรเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการเกษตรด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน การเกษตร และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของชุมชน ซึ่งจะเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งได้ในระยะยาว องค์การบริหารส่วนตำบลไพรพัฒนา จึงได้จัดทำโครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยสำราญหมู่ที่ ๘ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือ บรรเทาความทุกข์ร้อนของ
ประชาชนในพื้นที่ตำบลไพรพัฒนาในการต่อสู้กับปัญหาภัยแล้ง และเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการกักเก็บน้ำเพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนต่อไป
๓. วัตถุประสงค์ของโครงการ
๓.2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในพื้นที่ทำการเกษตร
๓.๒ เพื่อเพิ่มผลิตและรายได้ให้แก่เกษตรกรจากการเพิ่มแหล่งน้ำ
๓.๓ เพื่อเพิ่มศักยภาพทรัพยากรน้ำให้มีความเหมาะสมกับการเกษตรในพื้นที่
๓.๔ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
๔. กลุ่มเป้าหมาย
ราษฎรตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๗,๕๔๔ คนจำนวน ๒,๔๓๔ ครัวเรือน และพื้นที่ตำบลใกล้เคียงได้มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภค - บริโภค และเพื่อใช้ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม
๔.๑ กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรในพื้นที่ตำบลไพรพัฒนา
๕.เป้าหมาย โครงการพัฒนาบริเวณจุดชมวิวผาพญากูปรี ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษโครงการพัฒนาบริวณจุดชมวิวผาพญากูปรี ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายด้านการท่องเที่ยว เพื่อเป็นกรอบในการส่งเสริมการบริหารและพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศ โดยมีแนวทางในการสร้างความยั่งยืนให้กับการท่องเที่ยวของประเทศ มุ่งสร้างการกระจายรายได้สู่สังคมและท้องถิ่น และหนึ่งในนโยบายด้านการท่องเที่ยว คือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (Natural Attraction) โดยมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมาเยือน มีความงดงามตามสภาพธรรมชาติ ความแปลกตาของสภาพธรรมชาติ ซึ่งการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นการเปิดมุมมองหรือเพิ่มประสบการณ์ชีวิตให้กับตนเอง สร้างความสุข ความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน ความบันเทิงใจและก่อให้การ
เรียนรู้ใหม่ๆ ให้กับตนเองและเป็นการสร้างร้ายได้ในการพัฒนาประเทศค่อนข้างชัดเจน การท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิด
ร้ายได้จึงมีการประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เช่นการเพิ่มขึ้นของสถานที่พักค้างคืน การเพิ่มขึ้นของร้านอาหาร และแหล่งบริการอื่นๆ เพื่อดึงดูดความสนใจ . ของนักท่องเที่ยวทั้งในและ
ต่างประเทศ นอกเหนือจากนี้การท่องเที่ยวยังช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี ระหว่างเจ้าบ้านและนักท่องเที่ยวที่มา
เยือน สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชนและเป็นประโยชน์โดยตรงต่อคนในชุมชน สำหรับการท่องเที่ยวในตำบลไพรพัฒนามีความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม (Cultural
Attraction) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco-tourism) และการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (Natural Attraction) แหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้ล้วนแต่มีศักยภาพที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนสามารถสร้างแรงจูงใจให้กับผู้คนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากตำบลไพรพัฒนามีจุดผ่านแดนถาวช่องสะงำ ที่มีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศและมีการท่องเที่ยวชายแดน (ไทย-กัมพูชา) ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖- มาตรา ๒๕- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอำนาจดูแลและจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๙ มาตรา ๑๖ ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหาร
ส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง
การส่งเสริมการท่องเที่ยว และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนต่ำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไข
เพิ่มเติมถึง ฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๖๘ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบล อาจจัดทำ
กิจกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ ข้อ (๑๒) การท่องเที่ยว และแผ่นพัฒนาท้องถิ่นห้าปี
(พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๕) แผนยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘- ประกอบกับประกอบหนังสือสำนักเลข่าธิการ
คณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ น่ร ㆍ๕๑๕/ว ๒๙๖ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๓ และหนังสือกระทรวงมหาดไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น