จ.อุทัยธานี...!!@ ดับเครื่องชนคดีไม่คืบหน้าร้องกรมป่าไม้ DSI กรมสอบสวนคดีพิเศษ รีสอร์ทวังไร่ส้มบุกรุกที่ป่าสงวนหลายสิบไร่ สร้างโรงงานและๅรีสอร์ท สอบถาม ผอ.ปฎิเสธวุ่น...!! เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 16 ธ.ค. 64 นายณรงค์ ทองพรรณงาม บ้านเลขที่ 28/1 หมู่ 8 บ้านน้ำรอบ ต.ลานสัก อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี พร้อมด้วยเอกสารการบุกรุกที่ดินป่าสงวน กว่า 50 ไร่ ของบ้านเลขที่ 1 บ้านวังไร่ส้ม หมู่ 1 ต.ทุ่งนางาม อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี เข้าพบกับนายสุรชัย อาจบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ กรมป่าไม้ ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจัก กรุงเทพมหานคร เพื่อติดตามคดีความว่า ได้มีการดำเนินคดีไปถึงขั้นตอนไหน โดยนายสุรชัย อจบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ ได้ภารกิจประชุม จึงให้นายพฤกษ์ โสโน ผอ.สำนักส่งเสริมปลูกป่า กรมป่าไม้ มารับเรื่องแทน พร้อมกับได้รับปากว่าจะติดคดีดังกล่าวให้ถึงที่สุด หลังจากนั้นนายณรงค์ ทองพรรณงาม พร้อมด้วยเอกสารการบุกรุกทีดินป่าสงวน กว่า 50 ไร่ ของบ้านเลขที่ 1 บ้านวังไร่ส้ม หมู่ 1ต.ทุ่งนางาม ไปยังสำนักงานกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ถ. แจ้งวัฒนะ แขวง ทุ่งสองห้อง เขต หลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยมี ร.ต.อ.ปิยะ รักษ์กุล ผู้อำนวยการกองบริหารคดีพิเศษ เป็นตัวแทนรับหนังสือการร้องเรียน พร้อมกับกล่าวว่า ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนั้นทาง (ดีเอสไอ) ได้มีการดำเนินการไปถึงไหนแล้ว และถ้ามีความคืบหน้ายังไง ก็แจ้งให้ทราบ แต่ถ้าไม่เป็นผล จะดำเนินการยังต่อไรต่อ ทางเรามีศูนย์ปฏิบัติการพื้นที่ 6 อยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก ก็จะลงมาดูพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีด้วย และดำเนินการยังไรก็จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง ด้านนายณรงค์ ทองพรรณงาม ผู้ร้องเรียนกล่าวว่า เมื่อต้นปี 63 ตนเองได้ติดตามร้องเรียนกับกรมป่าไม้ เรื่องการบุกรุกที่ป่าสงวนของวังไร่ส้มมาตลอด หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 7 พ.ค.63 เจ้าหน้าที่ชุดพยัคฆ์ไพร ของกรมป่าไม้ ได้สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้ กอ.รมน. เจ้าหน้าที่ปกครองอ.ลานสัก จ.อุทัยธานี เข้าตรวจสอบพื้นที่ป่าสงวน ของบ้านเลขที่ 1 บ้านวังไร่ส้ม หมู่ 1 ต.ทุ่งนางาม อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี ภายในได้มีการสร้างรีสอร์ท และ มีการหลีกเลี่ยงภาษี บริการห้องพักจำนวน 120 กว่าห้อง ปลูกสร้างอาคาร 2 ชั้น ห้องประชุมสัมมนาและโรงงานผลิตน้ำผลไม้ ให้บริการเป็นเวลานานกว่า 10 ปี หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2563 หลังจากนั้นเจ้าหน้าทีได้นำหมายค้นของจังหวัดอุทัยธานี ที่ ค.1.80/2563 เข้าทำการตรวจค้นภายบ้านวังไร่ส้ม โดยมี ดร.ประภาษ สุขสมศรี รับว่าเป็นผู้จัดการภายในพื้นดิน เนื้อที่ประมาณกว่า 50 ไร่ พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ดินของสำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) และ ภ.บ.ท.5 จำนวน 50 ไร่ พร้อมกับได้มีการปลูกสร้างอาคาร 2 ชั้น ห้องประชุมสัมมนา และโรงงานผลิต ไว้ พร้อมกับมีการปลูกมะม่วง ดังกล่าว หลังจากนั้น นายเธียรวิชญ์ มุสิกะวงศ์ ศูนย์ป่าไม้อุทัยธานี พร้อมนายอัครพงษ์ อำพิน เจ้าพนักงานป่าไม้ อน.8 อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ได้รับมอบหมายจากสำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์ เข้าแจ้งความกับผู้บุกรุกที่ป่าสงวนกับวังไร่ส้ม กับเจ้าของคดี พ.ต.ท.สันติ ทองเชื้อ สารวัตรเวร สภ.ลานสัก จ.อุทัยธานี หลังจากนั้นคดีดังกล่าวได้เงียบหายไป เหมือนกับไม่มีการดำเนินคดีอะไรขึ้นมา ตนเองจึงได้สอบถามไปยัง ผอ.สำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์ ได้คำตอบเพียงสั้นว่า ว่าเรื่องดังกล่าวนั้นมันนานมาแล้ว ตนเองจำไม่ได้ ตนเองจึงได้ติดตามเรื่องดังกล่าว พร้อมกับทำเอกสานมายัง กรมป่าไม้ และ สำนักงานกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งก่อนหน้านั้น ตนเองเคยมาร้องเรียนไว้แล้ว ซึ่งเป็นที่พึ่งสุดท้ายสำหรับประชาชน ที่ไม่ยากกลุ่มนายทุนเข้ามาหุบที่ดินป่าสงวน แบบไม่ถูกกฎหมายมาครอบครอง ไม่ยากให้เป็นมวยล้มต้มคนดู ที่ประชาชนชาวจังหวัดอุทัยธานี ได้สนใจคดีดังกล่าว
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุทัยธานี ได้ชี้แจงว่า พื้นที่ดังกล่าวของนิคมทับเสลา เป็นพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าห้วยทับเสลาและป่าห้วยคอกควาย ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 เป็นพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ผู้ถือครองที่ดินไม่สามารถมอบให้กับบุคคลอื่นได้ เว้นแต่ตกทอดทางมรดกเท่านั้น ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในระหว่างการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์จากกรมป่าไม้ แต่กรมป่าไม้ยังไม่อนุญาตให้เข้าใช้ประโยชน์ หากราษฎรจะประสงค์ดำเนินการอื่นใดนอกจากทำการเกษตร และที่อยู่อาศัยจะต้องขออนุญาตและปฏิบัติตามเงื่อนไขของกรมป่าไม้เท่านั้น
1.พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 ฐานยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และขอให้ศาลสั่งให้ผู้กระทำผิด คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของผู้กระทำผิดออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ และขอให้ผู้กระทำผิดรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และสิ่งใด ๆอันก่อให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติออกจากป่าสงวนแห่งชาติ ภายในระยะเวลาที่กำหนด มาตรา 26/4 ผู้ใดกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทำลายหรือเป็นเหตุให้เกิดการทำลาย หรือทำให้สูญหายหรือเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ผู้นั้นมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหายไปนั้น และมาตรา 26/5
2.พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธ
ศักราช 2484 มาตรา 54 ฐาน ก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือเข้ายึดถือหรือครอบครองป่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และมาตรา 55 มาตรา 72 ตรี วรรค 2 และวรรค 3 //...พชร พัสกุล/สมาคมสื่อมวลชนอุทัยธานี/ภาพ/ข่าว/รายงาน (SIANGPRABANG NEWS ONLINE 099-4920749)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น