จ.อุทัยธานี...!!@ ปลาก็แรดส้มก็ซ่า พืชอัตตลักษณ์ เป็นสินค้า GI เพิ่มมูลค่าสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกร...!! วันที่ 10 ธ.ค.64 ที่ จ.อุทัยธานี เมื่อเอ่ยถึง “ส้มซ่า” แล้ว ต้องยกให้จังหวัดอุทัยธานี เพราะนอกจากจะมีพื้นที่ปลูกกันมากกระจายใน 8 อำเภอในลักษณะปลูกแบบผสมผสานบริเวณหลังบ้านแล้ว “ส้มซ่า” ที่นี่ ยังมีรสชาดดี เป็นที่นิยมโดยทั่วไป ทำให้มีคำพูดติดปากกันว่า “อุทัยธานี ส้มก็ซ่า ปลาก็แรด ” นายจำนง แสงอ่อน อายุ 62 ปี เกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 24 ม.10 บ้านหนองเบน ต.หนองยาง อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี หนึ่งในเกษตรกรที่ปลูกส้มซ่า ได้เปิดเผยว่า ได้ปลูกส้มซ่า สายพันธุ์พื้นเมืองที่สืบสายพันธุ์มาจากสมัยปู่ย่าตายยาย ทั้งตอนกิ่งและเพาะเมล็ด โดยปลูกบริเวณหลังบ้าน ในลักษณะผสมผสานกับไม้ผล ไม้ยืนต้นชนิดอื่น บนเนื้อที่ 2-3 ไร่ เฉพาะส้มซ่า ปลูกไว้จำนวน 30-40 กว่าต้น ด้วยกัน มีทั้งให้ผลผลิตแล้วและส้มซ่า ที่ปลูกใหม่ และยังมีบางต้นมีอายุเก่าแก่ 30-40 ปี ก็มีสำหรับสาเหตุที่มีความสนใจปลูกส้มซ่า เนื่องจากเป็นพืชดั้งเดิม ปลูกกันมานาน สมัยก่อนจะปลูกไว้บริโภคในครัวเรือน หรือแบ่งปัน รวมทั้งผู้เฒ่าผู้แก่ยังนิยมนำส้มซ่า มาจิ้มกับยาลม รับประทาน เพื่อรักษาอาการเป็นลม วิงเวียนศีรษะ อีกด้วย ในปัจจุบันได้หันมาปลูกเพื่อขายเป็นรายได้เสริม ในด้านรสชาติ หากปริมาณฝนตกลงมาน้อย จะทำให้รสชาติหวานพอดี แต่หากฝนตกชุกส้มซ่า ก็จะมีรสเปรี้ยว ดังนั้นส้มซ่า จึงมีคุณประโยชน์หลายอย่าง ซึ่งต้องการอนุรักษ์พืชชนิดนี้เอาไว้ ให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้จัก เพราะหวั่นใจจะสูญพันธุ์ อีกทั้งส้มซ่า ยังเป็นพืชที่สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดี เกษตรกรบางรายในหมู่บ้านที่ปลูกส้มซ่า จะขายได้ปีละ 20,000 บาท ซึ่งถือเป็นรายได้เสริมที่ดี
ด้านนางสมพิศ ขวัญสูงเนิน หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดอุทัยธานี กล่าวว่า ส้มซ่า เป็นพืช อัตตลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดฯ ที่เกษตรกรปลูกกันมานานตั้งแต่โบราณ สมัยปู่ย่าตายาย กระทั่งถึงปัจจุบัน เพื่อให้ลูกหลานได้รับประทาน แต่ในอดีตไม่ได้มีการส่งเสริมให้เป็นไม้เศรษฐกิจ กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้สนับสนุนโครงการส่งเสริมอาชีพด้าน อัตตลักษณ์พื้นถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาไม้ผลซึ่งเป็นอัตตลักษณ์ของจังหวัดอุทัยธานี ให้มีมูลค่าและก่อให้เกิดรายได้กับเกษตรกรในพื้นที่ จึงได้ให้” ส้มซ่า ” ซึ่งเป็นไม้ผลโบราณของจ.อุทัยธานี เป็นพืชอัตตลักษณ์พื้นถิ่น และจากการสำรวจข้อมูล ส้มซ่า มีปลูกค่อนข้างมาก พื้นที่ปลูก 200 กว่าไร่หรือประมาณ 5,134 ต้น เกษตรกร 1,267 ราย มีการปลูกบ้านละ1-2 ต้น ถ้าเป็นสวนใหม่ก็จะมาก 30 -40 ต้น ช่วงอายุส้มซ่า 1-5 ปี จำนวน 2,049 ต้น 6-10 ปี จำนวน 2,528 ต้น 11-15 ปี 363 ต้น 16 ปีขึ้นไป 194 ต้น โดยปลูกกระจายใน 8 อำเภอ ส่วนอำเภอที่มีพื้นที่ปลูกส้มซ่า มากได้แก่ อ.หนองฉาง อ.หนองขาหย่างและ อ.ทัพทัน เพราะดูแล้วในแถบนี้ ไม่มีส้มซ่า ที่ไหนมีพื้นที่ปลูกเกิน จ.อุทัยธานี “ ผลผลิตต่อต้นประมาณ 500-1500 ผล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของต้นส้ม ถ้าอายุมากปริมาณผลผลิตก็จะมากตามไปด้วย การดูแลจะปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติไม่มีการฉีดพ่นสารเคมี และใส่ปุ๋ย เพราะส้มซ่าไม่ค่อยมีโรคแมลงศัตรูมาทำความเสียหาย ในด้านการจำหน่าย จะมีผู้รับซื้อผลผลิตในพื้นที่มารับซื้อถึงในสวน ราคาลูกละ 1-2 บาท เพื่อนำไปขายในตลาดท้องถิ่น ตลาดนัด หรือส่งขายในพื้นที่ใกล้เคียง ส่วนการขยายพันธุ์ เกษตรกรปลูกด้วยเมล็ดและการตอนกิ่ง โดยจะเริ่มให้ผลผลิตในช่วงประมาณเดือน กรกฎาคม-พฤศจิกายน จึงสมควรที่จะให้มีการพัฒนาให้เป็นสินค้า ที่มีมีมูลค่าเพิ่มและเป็นสินค้าประจำ จ.อุทัยธานี เราจึงหยิบพืชชนิดนี้ขึ้นมาพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสายพันธุ์ให้ได้มาตรฐาน การแปรรูป หรือการสร้างผลิตภัณฑ์ตัวอื่นๆ เพื่อให้เป็นของฝากกับผู้ที่มาท่องเที่ยว จ.อุทัยธานี เพราะส่วนหนึ่งนักท่องเที่ยวได้พอรู้จักและลิ้มรสส้มซ่า กันมาบ้างแล้ว เพราะในร้านค้า ร้านอาหารหลายแห่งของ จ.อุทัยธานี ได้ทำเป็นน้ำปั่นส้มซ่า หรือใช้ส้มซ่า เป็นส่วนประกอบของอาหารโบราณบางชนิด โดยจะมีการถ่ายทอดความรู้ ให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สวยงามน่าซื้อ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะการขายของเกษตรกรในขณะนี้จะมัดรวมกัน เป็นกลุ่ม 3-5 ผล ราคาจำหน่าย 20 บาท เป็นของฝากได้ รวมถึงการส่งเสริมการขายในตลาดออนไลน์ การส่งเสริมให้ส้มซ่าเป็นสินค้า GI หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อเพิ่มมูลค่า เพราะส้มซ่า สามารถปลูกได้ดีในพื้นที่ของ จ.อุทัยธานี เนื่องจากสภาพดิน สภาพดินฟ้าอากาศมีความเหมาะสม ปัจจุบัน สามารถจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี หมายเหตุ 1.มีเสียงสัมภาษณ์นายจำนง แสงอ่อน เกษตรกร บ้านหนองเบน ต.หนองยาง อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี//
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น